วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 13                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2


เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           ก่อนเข้าเรียนอาจารย์ได้ให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาหน้าชั้นเรียน 5 คน โดยให้ออกมาใบ้ท่าทางของสัตว์ โดยให้เพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันทายว่าเป็นสัตว์ชนิดใด และถ้าเพื่อนทายถูกให้เพื่อนที่แสดงท่าทางทำเสียงประกอบด้วย กิจกรรมนี้ได้พัฒนาการทางด้านภาษา ด้านท่าทางและ ด้านเสียง

  • การจัดสภาพแวดล้อมทางภาษา

           เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและมีองค์รวม

          - เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะภาษา

หลักการ
              สอดคล้องกับการเรียน เด็กได้สำรวจ ได้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ไม่บังคับ สื่อที่จัดภายในห้องให้เด็กเห็นแล้วเกิดความสงสัย

สิ่งเเวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์
              เด็กจะต้องไม่เล่นคนเดียว ไม่สื่อสาร 2 ทาง คือ เมื่อเด็กผู้ต้องมีผู้ตอบ

มุมประสบการณ์ต่างๆที่ส่งเสริมภาษาให้กับเด็ก
  • มุมศิลปะ ( ผ่านการวาด การเขียน การระบายสี การตัด )
  • มุมดนตรี
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมหนังสือ (สำคัญมาก)  



กิจกรรมการเข้าตามมุมเด็กจะได้รับภาษาอย่างที่คุณครูไม่ต้องสอนเด็กเลยก็ได้



ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียน

  1. ควรมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม
  2. ให้เด็กมีความรู้สึกได้ผ่อนคลาย น่าเข้าไปเล่น
  3. ควรมีโต๊ะ ดินสอ ปากกา สี กรรไกร กาว (ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีวางไว้ให้กับเด็กคุณครูต้องสอนวิธีการใช้ทุกชิ้นให้กับเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นกับตัวเด็ก) ควรให้เด็กได้ลงมือทำอย่างมีอิสระ
  4. คุณครูควรวางแผนร่วมมือกับเด็ก ถามเด็กว่าอยากได้มุมแบบไหนบ้าง เช่น มุมศิลปะ อยากได้สีแบบไหน และอยากได้อะไรเพิ่มเติมไหม




  1. มุมหนังสือ

  • ควรมีชั้นวางหนังสือที่เหมาสมกับวัย
  • มีความสงบ และควรมีพื้นที่ให้เด็กอ่านหนังสือได้คนเดียวแต่ก็ควรมีโต๊ะที่ให้เด็กได้อ่านร่วมกันเป็นกลุ่ม
  • ควรมีอุปกรณ์สำหรับการเขียน



     2.   มุมบทบาทสมมุติ
  • ควรมีอุปกรณ์เพื่อให้เด็กเข้าไปเล่นที่หลากหลาย
  • อุปกรณ์ควรจะเป็นอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับมุม
  • มีพื้นที่สำหรับการเล่น และไม่จำเป็นต้องจัดอยู่แต่ภายในห้องก็ได้




    3.   มุมดนตรี
  • เด็กได้จังหวะ ได้พูด ได้ร้องเพลง
  • ควรจะมีเครื่องดนตรีไว้ให้เด็กในมุม ทั้งของปลอมและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ หรือเครื่องเคาะจังหวะต่างๆ






    4.   มุมศิลปะ
  • เด็กได้ภาษาจากมุมนี้คือ ภาษาธรรมชาติ
  • ควรจะมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สี กระดาษา เม็ดถั่ว ดินสอ ยาง กรรไกร กาว แม็ก (คุณครูต้องสอนวิธีการใช้ให้กับเด็กก่อนเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก) ในการที่จะจัดอะไรคุณครูต้องดูความเหมาะสมกับเด็กด้วย









VDO การเล่นบทบาทสมมุติจากรายการรักลูกให้ถูกทาง
ขอขอบคุณ VDO จาก www.youtube.com




             ในการจัดมุมต่างๆที่เด็กเล่นได้มีการสอดแทรกเรื่องภาษาไว้ด้วย การเป็นครูปฐมวัยลายมือต้องสวย อ่านง่าย และชัดเจน เพราะต้องมีการเขียนบอร์ด การเขียนสมุดบันทึกประจำตัวให้เด็กๆ ถ้าลายมือคุณครูปฐมวัยไม่สวยงามเวลาออกไปฝึกสอน ต้องโดนคัดลายมือแน่นอน

ตัวอย่างภาษาที่ใช้ผิดพบเห็นในชีวิตประจำวัน




  • เวลาท้ายคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทั้งห้องคัดลายมือส่งโดยมีแบบให้ใครที่คัดสวยงามจะได้ลายเซ็นคุณครูและดิฉันก็ได้ลายเซ็นพร้อมทั้งนำไปโชว์หน้าห้องด้วย

ผลงานคัดลายมือของดิฉัน


การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่
  2. เด็กจะร่าเริงเบิกบาน มีอิสระในการเลือกเล่นสิ่งที่ตนสนใจ
  3. เด็กรู้จักตนเอง รู้จักบุคคลรอบด้าน (จากการเล่นสมมุติ) รู้จักเพื่อนที่เล่นด้วย ขณะเล่นเด็กได้มีโอกาสรู้จักบทบาทของตนเองและผู้อื่น
  4. เด็กได้หัดใช้ความคิด ตัดสินใจแก้ปัญหา ได้มีโอกาสสืบค้นหาคำตอบหรือบางครั้งการเล่นทำให้เด็กได้สร้างความรู้ โดยไม่ต้องจัดกิจกรรมอย่างเป็นทางการ
  5. เด็กได้ระบายอารมณ์และความรู้สึกขณะเล่น ผ่อนคลายความตึงเครียด
  6. รู้จักการผ่อนปรนและรอคอย อดทนต่อความไม่สมหวัง รู้จักการแบ่งปัน รู้จักการร่วมมือกับคนอื่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น