วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 14                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  • อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกแบบมุมประสบการณ์ของเด็กและต้องเชื่อมโยงกับภาษาของเด็กปฐมวัย กลุ่มดิฉันทำ "โครงสร้างการออกแบบมุมศิลปะ"
สมาชิกกลุ่ม ได้แก่
  1. นายอรุณ                  วางหลัก
  2. นางสาวศิริพร           โพธิสาร
  3. นางสาวธนภรณ์        คงมนัส
  4. นางสาวสิรินดา         สายจันทร์
  5. นางสาวกาญจนา      ธนารัตน์
  6. นางสาวดวงกมล       คันตะลี
  7. นางสาวสุจิตรา         สุวรรณรัตน์
  8. นางสาววรรวิภา        โพธิ์งาม
  9. นางสาวนิลาวัลย์      ตระกูลเจริญ
  10. นางสาวศิราลักษณ์  คาวินวิทย์
  11. นางสาวปวิชญา       กันทะเนตร
  • จากนั้นพอนักศึกษาทุกกลุ่มออกแบบเสร็จก็ให้ออกมานำเสนอกิจกรรมมุมต่างๆของกลุ่มถ้ากลุ่มไหนดี อาจารย์จะแจกดาวคนในกลุ่มละ 2 ดวงมาดูงานของเพื่อนๆกันดีกว่า


กลุ่มมุมสัญญาณไฟจราจร
 ( เป็นการบอกสัญญาณไฟจราจร ว่าแต่ละสีหมายถึงอะไร )




กลุ่มมุมดอกไม้
( กลุ่มนี้ได้คะแนนพิเศษเพราะออกแบบได้ชัดเจน เขียนกำกับไว้ว่าเป็นดอกไม้ชนิดใด ทำป้ายไว้ )




กลุ่มมุมอาเซียน
( ตุ๊กตาอาเซียนอัดเสียงคำพูดไว้เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน เช่น สอนเรื่องคำทักทายก็อัดเสียงใส่ลงไปในตุ๊กตา ประจำชาตินั้นๆ )




กลุ่มโครงสร้างการออกแบบมุมศิลปะ ( กลุ่มดิฉัน )
( เป็นการออกแบบเกี่ยวกับตามมุมของเล่น มุมหนังสือ มุมศิลปะ )




กลุ่มมุมบทบาทสมมติ อาชีพในฝัน
( มีการออกแบบในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำนา การเป็นทหาร เป็นต้น )




กลุ่มมุมสัตว์
( เป็นการที่พาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อให้รู้จักสัตว์เหล่านั้น ได้สัมผัส ได้มองเห็น )



เป็นการจัดบอร์ดในห้องเรียนเด็กปฐมวัย
เพื่อพัฒนาการด้านความคิด ความสร้างสรรค์ของเด็ก
มีผลงานของเด็กติดไว้รอบห้อง

ขอบคุณ VDO จาก www.youtube.com




การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. เด็กได้สัมผัสและเล่นสิ่งต่างๆ ที่มีรูปทรง สีสัน เหมือนกันและต่างกัน
  2. เด็กและครูช่วยกันจัดมุมห้องให้สวยงาม เพื่อให้เด็กสังเกตลักษณะของ รูปทรง เส้น สี พื้นผิวของวัสดุต่างๆ ที่เปลี่ยนไป
  3. ควรหาหรือจัดทำสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูปมาตกแต่งห้อง กระตุ้นให้เด็กรู้สึกอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ
  4. เด็กและครูช่วยกันสะสมภาพต่างๆ ที่มีรูปทรง เส้น และสีที่สวยงามเพื่อใช้ตกแต่งห้องเรียน  หรือเพื่อให้เด็กฝึกการดูตามใจชอบ
  5. ฝึกเด็กให้ใช้สิ่งของร่วมกันและทำงานเป็นกลุ่ม
  6. ที่สำคัญควรวางแผนล่วงหน้าตลอดว่าแต่ละสัปดาห์จะให้เด็กทำกิจกรรมอะไร ตาม ลำดับความยากง่ายและความซับซ้อนของชิ้นงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น