วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 15                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
  • วันนี้อาจารย์ให้จัดกลุ่มไม่เกิน 10 คน และแจกกระดาษให้ กลุ่มละ 2 แผ่น เพื่อให้เขียนแผนการสอน กลุ่มละ 1 หน่วย โดยแผ่นแรกให้เขียนออกมาเป็น My Mapping ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำ      หน่วยนม ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ชื่อหน่วย ที่มา รสชาติ ประโยชน์ นิทานและ เพลง เป็นต้น

  1. ที่มา
  • นมที่ได้มาจากสัวต์ เช่น วัว ควาย แพะ อุฐ จามรี 
ผลิตภัณฑ์นมควาย
ผลิตภัณฑ์นมอูฐ
  • นมที่ได้มาจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด งา
ผลิตภัณฑ์นมข้าวโพด

ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง
     2.   รสชาติ
  • เช่น สตอเบอรรี่ ช็อตโกแลต ส้ม กาแฟ วานิลลา นมเปรี้ยว
ผลิตภัณฑ์นมรสส้ม

ผลิตภัณฑ์นมรสสตอเบอรรี่

ผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลต


     3.   ประโยชน์

  • ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง
  • สร้างภูมิคุ้มกัน
  • มีแคลเซียม
  • บำรุงกระดุกและฟัน
     4.   นิทาน

  • เรื่อง น้องจอยไม่ชอบดื่มนม
     5.   เพลง
  • ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่ม ดื่มนมกันเถอะ ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ ดื่มนมกันเถอะ ร่างกายแข็งแรง เฮ้



  • จากนั้นอาจารย์ให้เลือกหัวข้อจาก My Mapping มา 1 หัวข้อเพื่อมาเขียนแผนการสอนในแผ่นที่ 2 กลุ่มดิฉันเลือกหัวข้อนิทาน ในส่วนประกอบของการเขียนแผนการสอนจะประกอบด้วย 

  1. ชื่อแผน
  2. วัตถุประสงค์
  3. สาระการเรียนรู้
  4. วิธีดำเนินการ 
  • แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นสอน และสรุป 

    5.  ประเมิน ( มีวัตถุประสงค์กี่ข้อ ให้ประเมินตามข้อของวัตถุประสงค์ )



                            เมื่อทุกกลุ่มทำแผนเสร็จก็ออกมารายงานหน้าชั้นเรียนของแผนที่ทำ


หน่วยฤดู






หน่วยนม






หน่วยวัฎจักรต้นข้าว






หน่วยดอกไม้






หน่วยต้นกล้วย






หน่วยเด็กปฐมวัย




การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
  2. ช่วยให้มีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
  3. ส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและประเมินผล
  4. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
  5. สามารถใช้ในการฝึกสอนได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น