วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 6                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



แนวทางการจัดการประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

  1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
           - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยของภาษา
           - นำคำมาประกอบกับประโยค
           - ความหมายของคำ
           - การแจกลูกคำสะกด


ตัวอย่าง การอ่านสะกดคำ


     2.  การสอนแบบธรรมชาติ (Whole Language)
          ทฤษฏีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Deway,Piaget,Vygotsky,Haliday)
            - เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือทำ
            - อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย,2541)
  1. ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
  2. ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
  3. ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์
  4. ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก

กิจกรรมระหว่างเรียน



เพลงแปรงฟัน


แปรง ซิ แปรง แปรง ฟัน
ฟัน หนู สวย สะอาด ดี
แปรง ขึ้น แปรง ลง ทุก ซี่
สะอาด ดี เมื่อ หนู แปรง ฟัน


เพลง หู ตา จมูก


ตา หู จมูก จับ ให้ ถูก
จับ จมูก ตา หู
จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู   จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู
จับ จมูก ตา หู
จับ หู ตา จมูก


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
  1. ธรรมชาติของเด็กมีความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็นที่แตกต่างกัน
  2. ได้เรียนรู้ในการใช้คำ ซึ่งคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายแบบถ้าเราเขียนผิดไป ก็สื่อความหมายไปอีกแบบนึง
  3. เราสามารถใช้รูปภาพแทนอักษรได้เพื่อให้เด็กนักเกิดความสนใจและตื่นเต้นที่จะเรียนมากขึ้น

การนำความรู้ไปใช้
  1. การใช้รูปภาพเป็นสื่อในการเรียนรู้สามารถที่จะสร้างความสนใจให้แก่เด็กได้ดี
  2. สามารถใช้สื่อหรือสิ่งพิมพ์ แทนอักษรธรรมดา
  3. นำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้
  4. นำวัสดุทางธรรมชาติมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียนเพื่อที่จะให้เกิดทักษะที่หลากหลายแกเด็ก



เข้าเรียนครั้งที่ 5                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20





 องค์ประกอบของเสียง

นักทฤษฎีที่กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของเสียง





SKINNER

(สกินเนอร์)




JOHN B. WATSON

(จอห์นบีวัตสัน)




PIAGET

(เพียเจต์)




VYGOTSKY

(ไวก้อตสกี้)



กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ให้วาดภาพสิ่งของที่ชอบในวัยเด็ก พร้อมกับอธิบายว่าทำไมถึงชอบสิ่งนี้


                     สิ่งที่ชอบในวัยเด็กนั้น คือ ผ้าขนหนู เพราะตอนเด็กชอบดูดนิ้วโป้งข้างขวาแม่อยากให้เลิกดูดนิ้วเลยมอบผ้าขนหนูผืนนี้ให้ จากนั้นเลยขาดผ้าขนหนูไม่ได้ก่อนนอนต้องมีสิ่งนี้คอยไว้ดมก่อนนอนทุกครั้ง แต่พอเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เลยเลิกเพราะแม่ขู่ว่าจะฟ้องเพื่อนกลัวเพื่อนไม่เล่นด้วยเลยเลิกเด็ดขาดจากนั้นมา


ความรู้ที่ได้ในวันนี้
  1. ได้รู้เกี่ยวกับนักทฤษฏี แนวคิดการศึกษาที่แต่ละคนกล่าวไว้ เช่น Arnold Gesell (กีเซล) เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา เป็นต้น
  2. ได้รู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเสียง ว่าคำบางคำมีหลายความหมาย 
  3. การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

การนำความรู้ไปใช้
  1. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. นำไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้กับเด็ก 
  3. นำหลักการและแนวคิดของนักทฤษฏีแต่ละคนมาใช้ประกอบความรู้ในวิชาที่เรียนหรือนำไปใช้ในการฝึกสอนได้





เข้าเรียนครั้งที่ 4                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20


การนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ( งานกลุ่ม )
เรื่อง พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี
                       กลุ่มของดิฉันได้รวมความคิดเห็นกันในกลุ่ม ว่าจะทำอย่างไรให้ไม่น่าเบื่อและแตกต่าง ตื่นเต้น จากการรายงานหน้าชั้นแบบปกติโดยได้ลงความคิดเห็นว่าจะทำการแสดงบทบาทสมมติหน้าชั้นเรียนโดยเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับปฐมวัย ชื่อรายการว่า  ปัญญา2/4 

หน้าที่รับผิดในการแสดงบทบาทสมมุติ กลุ่ม 4
  1. นาย        อรุณ  วางหลัก                (ผู้ดำเนินรายการ)
  2. นางสาว  กาญจนา  ธนารัตน์         (ผู้กำกับ)
  3. นางสาว  รัชดาภรณ์  นันบุญมา     (ผู้ดำเนินรายการ)
  4. นางสาว  สิรินดา  สายจันทร์         (ช่างเสริมสวยประจำกองถ่าย)
  5. นางสาว  ศิริพร  โพธิสาร               (ผู้ดำเนินรายการ)



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ 
(Piaget Theory)



                         
      เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นผลจากความสามารถทางสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเขา เด็กจะเป็นผู้ปรับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภาษาของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   
1. เด็กมีอิทธิพลต่อวิธีการที่แม่พูดกับเขา แม่จะพูดกับลูกแตกต่างไปจากพูดกับผู้อื่น เพื่อรักษาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แม่จะพูดกับเด็กเล็ก ๆ ต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ จะพูดประโยคที่สั้นกว่า ง่ายกว่า เพื่อการสื่อสารที่มีความหมาย
                              
2. เด็กควบคุมสิ่งแวดล้อมทางภาษา เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เด็กต้องการค้นพบว่าเสียงที่ได้ยินมีความหมายอย่างไร 
                               
 3. การใช้สิ่งของหรือบุคคล เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ผู้ใหญ่เห็นหรือได้ยินเขาพูด เด็กอาจเคลื่อนไหวตัวหรือ จับ ขว้าง ปา บีบ ของเล่น และความจำเป็นทางภาษา การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งของ เกี่ยวกับเหตุและผล เกี่ยวกับสถานที่ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของกิริยาและสิ่งของ มีส่วนช่วยให้เด็กแสดงออกทางภาษาอย่างมีความหมาย นั่นคือเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม
    
      เพียเจท์ (Piaget) ยืนยันว่า พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อม ๆ กับความสามารถด้านการให้เหตุผล การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์ เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และความหมายของภาษา









  • แนะนำตัวแต่ละคนในกลุ่ม


    เริ่มทำการแสดง พูดคุยกับเพื่อน 
    เพื่อความบันเทิงในการแสดงบทบาทสมมติ


    มีการโต้ตอบเนื้อหาซึ่งกันและกัน


    สรุปเนื้อหาความรู้ของกลุ่ม



    ความรู้ที่ได้ในวันนี้

               พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ชี้ไป

    ที่สิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ ตามที่พ่อกับแม่เรียกชื่อของนั้นๆได้ถูกต้อง สามารถบอกชื่อสิ่งของ คน หรือ

    สิ่งต่างๆรอบตัวที่คุ้นเคย รวมทั้งส่วนอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ปาก, จมูก, หู ได้และสามารถ

    พูดเป็นประโยคสั้นๆ 2-4 คำได้เอง


    การนำความรู้ไปใช้

    1. สามารถนำความรู้เรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ไปปรับใช้ในการฝึกออกสอน
    2. สามารถนำไปประยุกต์กับองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
    3. สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเด็กปฐมวัย ว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่แตกต่างกันออกไป
    4. ควรพัฒนาเด็กให้เหมาะสมแต่ละวัย ไม่ควรปิดกั้น ปิดโอกาส ความสามารถทางด้านสติปัญญาของเด็กในวัยนี้
    5. เมื่อเด็กสนใจสิ่งใด หรือชอบกระทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ไม่ควรที่จะดุ หรือตะคอกรุนแรง เพราะเด็กอาจเกิดความกลัวไม่กล้าที่จะซักถามอีกครั้งต่อไป จะเป็นเหตุให้เด็กไม่กล้าแสดงออกได้






    เข้าเรียนครั้งที่ 3                                  


    บันทึกอนุทิน

    วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
    วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ 28 ที่  มิถุนายน พ.ศ.2556



    กิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




    รุ่นพี่ปี 2 
    โดนทำโทษให้นอนตากแดดสบายๆ ลมโชยเย็นๆ




    น้องปี 1 ออกมาเต้น




    ไปเล่นฐานที่รุ่นพี่ปี 2 เตรียมไว้สำหรับน้องปี 1 ทุกคน
    กลิ่นโคลนหอมโชยเลย




    พี่ปี 2 ประจำฐานคอยดูแล และ กลั่นแกล้งเบาๆ




    บูมเอกพร้อม พร้อม   บูมเอกพร้อม พร้อม 3,4
    วิ๊ด บูม เบบี้ เบบี้ เอรี่ ชายฮูด เบบี้ เบบี้ เอรี่ ชายฮูด อีดูเคชั่น ปฐมวัย




    กิจกรรมสายสัมพันธ์ปฐมวัย




    เข้าเรียนครั้งที่ 2                                 


    บันทึกอนุทิน

    วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


    วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556
    ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
    เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



    เรื่อง ความหมายของภาษา
                

             
              ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก

    ความสำคัญของภาษา
    1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
    2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
    3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
    4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

    ทักษะทางภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน



    ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget


               
             เด็กมีปฏิสัมพนธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
    1. การดูดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น  สัตว์มีปีก  บินได้  เรียกว่า  นก
    2. การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้กับสิ่งแวดล้อมใหม่  (Accommodation)                   เกิดควบคุมกับการดูดซึม โดยปรับความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  เช่น สัตว์มีปีก  บินได้ ปากแหลมๆ  ร้องจิ๊บๆ เราเรียกว่า  นก


                       เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล  (Equilibrium)  กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
    Piaget  แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา มีความสัมพันธ์ กับการใช้ภาษา ดังนี้
    1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  (Sensorimoter Stage) แรกเกิด – 2 ปี รู้ศัพท์จากสิ่งแวดล้อม
    2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-4 ปี                                                             2.1 ใช้ภาษา  แสดงสัญลักษณ์  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
              2.2  อายุ 4-7 ปี ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
          3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม  (Concrete  Operational  Stage) 7-11 ปี
          4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม  (Formal  Operational  Stage)  11-15 ปี
    พัฒนาการภาษาของเด็ก
                     เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง
    จิตวิทยาการเรียนรู้
    1.     ความพร้อม วัยนี้จะมีความสามารถและประสบการณ์เดิมของเขา
    2.     ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ อิทธิพลทางพันธุกรรมและอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
    3.     การจำ 
                - การเห็นบ่อยๆ 
                      - การทาบทามเป็นระยะ
                      - การจัดเป็นหมวดหมู่
                      - การใช้คำสัมผัส
               4.การใช้แรงเสริม
                      - การเสริมทางบวก
                      - การเสริมทางลบ

    ความรู้ที่ได้ในวันนี้
                     ภาษามีความสำคัญกับเด็กมากในวันนี้เด็ก ถ้าเด็กพูด คิด อ่าน เขียน ถูกต้องตั้งแต่ตอนนี้ก็จะมีประสบการณ์ที่ดีจะส่งผลให้ในอนาคตของเด็กนั้นมีทางที่ดี เด็กช่วงแต่ละวัยก็มีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กคนอื่นๆนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและประสบการณ์เดิมที่เด็กมีอยู่นั้นเอง 

    การนำความรู้ไปใช้
    •     สามารถนำความรู้ที่มีอยู่และได้รับในวันนี้ไปพัฒนากับเด็กปฐมวัยได้
    •     มีความเข้าใจ เกิดทักษะ และเกิดความรู้ในภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



    •  

    วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    เข้าเรียนครั้งที่ 1                                   
    บันทึกอนุทิน

    วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


    วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2556
    ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
    เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.45  เวลาเลิกเรียน 12.20


    ความรู้ที่ได้ในวันนี้

    1. การใช้ ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย มีความสำคัญอย่างมาก
    2. วุฒิภาวะของเด็กแต่ละบุคคลมีความสามารถที่จะเรียนรู้ ภาษา แตกต่างกันไป
    การนำความรู้ไปใช้

    1. จัดประสบการณ์ ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดทักษะทั้ง 4 ด้าน
    กิจกรรมระหว่างเรียน