วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 4                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20


การนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ( งานกลุ่ม )
เรื่อง พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี
                       กลุ่มของดิฉันได้รวมความคิดเห็นกันในกลุ่ม ว่าจะทำอย่างไรให้ไม่น่าเบื่อและแตกต่าง ตื่นเต้น จากการรายงานหน้าชั้นแบบปกติโดยได้ลงความคิดเห็นว่าจะทำการแสดงบทบาทสมมติหน้าชั้นเรียนโดยเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับปฐมวัย ชื่อรายการว่า  ปัญญา2/4 

หน้าที่รับผิดในการแสดงบทบาทสมมุติ กลุ่ม 4
  1. นาย        อรุณ  วางหลัก                (ผู้ดำเนินรายการ)
  2. นางสาว  กาญจนา  ธนารัตน์         (ผู้กำกับ)
  3. นางสาว  รัชดาภรณ์  นันบุญมา     (ผู้ดำเนินรายการ)
  4. นางสาว  สิรินดา  สายจันทร์         (ช่างเสริมสวยประจำกองถ่าย)
  5. นางสาว  ศิริพร  โพธิสาร               (ผู้ดำเนินรายการ)



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ 
(Piaget Theory)



                         
      เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นผลจากความสามารถทางสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเขา เด็กจะเป็นผู้ปรับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภาษาของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   
1. เด็กมีอิทธิพลต่อวิธีการที่แม่พูดกับเขา แม่จะพูดกับลูกแตกต่างไปจากพูดกับผู้อื่น เพื่อรักษาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แม่จะพูดกับเด็กเล็ก ๆ ต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ จะพูดประโยคที่สั้นกว่า ง่ายกว่า เพื่อการสื่อสารที่มีความหมาย
                              
2. เด็กควบคุมสิ่งแวดล้อมทางภาษา เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เด็กต้องการค้นพบว่าเสียงที่ได้ยินมีความหมายอย่างไร 
                               
 3. การใช้สิ่งของหรือบุคคล เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ผู้ใหญ่เห็นหรือได้ยินเขาพูด เด็กอาจเคลื่อนไหวตัวหรือ จับ ขว้าง ปา บีบ ของเล่น และความจำเป็นทางภาษา การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งของ เกี่ยวกับเหตุและผล เกี่ยวกับสถานที่ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของกิริยาและสิ่งของ มีส่วนช่วยให้เด็กแสดงออกทางภาษาอย่างมีความหมาย นั่นคือเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม
    
      เพียเจท์ (Piaget) ยืนยันว่า พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อม ๆ กับความสามารถด้านการให้เหตุผล การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์ เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และความหมายของภาษา









  • แนะนำตัวแต่ละคนในกลุ่ม


    เริ่มทำการแสดง พูดคุยกับเพื่อน 
    เพื่อความบันเทิงในการแสดงบทบาทสมมติ


    มีการโต้ตอบเนื้อหาซึ่งกันและกัน


    สรุปเนื้อหาความรู้ของกลุ่ม



    ความรู้ที่ได้ในวันนี้

               พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ชี้ไป

    ที่สิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ ตามที่พ่อกับแม่เรียกชื่อของนั้นๆได้ถูกต้อง สามารถบอกชื่อสิ่งของ คน หรือ

    สิ่งต่างๆรอบตัวที่คุ้นเคย รวมทั้งส่วนอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ปาก, จมูก, หู ได้และสามารถ

    พูดเป็นประโยคสั้นๆ 2-4 คำได้เอง


    การนำความรู้ไปใช้

    1. สามารถนำความรู้เรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ไปปรับใช้ในการฝึกออกสอน
    2. สามารถนำไปประยุกต์กับองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
    3. สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเด็กปฐมวัย ว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่แตกต่างกันออกไป
    4. ควรพัฒนาเด็กให้เหมาะสมแต่ละวัย ไม่ควรปิดกั้น ปิดโอกาส ความสามารถทางด้านสติปัญญาของเด็กในวัยนี้
    5. เมื่อเด็กสนใจสิ่งใด หรือชอบกระทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ไม่ควรที่จะดุ หรือตะคอกรุนแรง เพราะเด็กอาจเกิดความกลัวไม่กล้าที่จะซักถามอีกครั้งต่อไป จะเป็นเหตุให้เด็กไม่กล้าแสดงออกได้






    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น