วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 2                                 


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



เรื่อง ความหมายของภาษา
            

         
          ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา
  1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
  2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
  3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
  4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน



ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget


           
         เด็กมีปฏิสัมพนธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
  1. การดูดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น  สัตว์มีปีก  บินได้  เรียกว่า  นก
  2. การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้กับสิ่งแวดล้อมใหม่  (Accommodation)                   เกิดควบคุมกับการดูดซึม โดยปรับความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  เช่น สัตว์มีปีก  บินได้ ปากแหลมๆ  ร้องจิ๊บๆ เราเรียกว่า  นก


                   เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล  (Equilibrium)  กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget  แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา มีความสัมพันธ์ กับการใช้ภาษา ดังนี้
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  (Sensorimoter Stage) แรกเกิด – 2 ปี รู้ศัพท์จากสิ่งแวดล้อม
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-4 ปี                                                             2.1 ใช้ภาษา  แสดงสัญลักษณ์  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
          2.2  อายุ 4-7 ปี ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
      3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม  (Concrete  Operational  Stage) 7-11 ปี
      4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม  (Formal  Operational  Stage)  11-15 ปี
พัฒนาการภาษาของเด็ก
                 เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง
จิตวิทยาการเรียนรู้
  1.     ความพร้อม วัยนี้จะมีความสามารถและประสบการณ์เดิมของเขา
  2.     ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ อิทธิพลทางพันธุกรรมและอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
  3.     การจำ 
            - การเห็นบ่อยๆ 
                  - การทาบทามเป็นระยะ
                  - การจัดเป็นหมวดหมู่
                  - การใช้คำสัมผัส
           4.การใช้แรงเสริม
                  - การเสริมทางบวก
                  - การเสริมทางลบ

ความรู้ที่ได้ในวันนี้
                 ภาษามีความสำคัญกับเด็กมากในวันนี้เด็ก ถ้าเด็กพูด คิด อ่าน เขียน ถูกต้องตั้งแต่ตอนนี้ก็จะมีประสบการณ์ที่ดีจะส่งผลให้ในอนาคตของเด็กนั้นมีทางที่ดี เด็กช่วงแต่ละวัยก็มีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กคนอื่นๆนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและประสบการณ์เดิมที่เด็กมีอยู่นั้นเอง 

การนำความรู้ไปใช้
  •     สามารถนำความรู้ที่มีอยู่และได้รับในวันนี้ไปพัฒนากับเด็กปฐมวัยได้
  •     มีความเข้าใจ เกิดทักษะ และเกิดความรู้ในภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



  •  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น