วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เข้าเรียนครั้งที่ 7                                  


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20





ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

กิจกรรมก่อนเรียน

                  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น โดยให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เราอยากจะวาด ดิฉันได้วาดรูปตัวเองเป็นนักร้องอยู่บนเวทีงานเทศการดนตรี Big Mountain Music Festival 3 ( มัน ใหญ่ มาก 3 ) โดยอาจารย์ให้นักศึกษามาเล่าเรื่องจากรูปภาพที่ตนเองวาดมาเล่าต่อกันไปจนถึงคนสุดท้ายต้องเป็นคนจบเรื่องให้ได้ตั้งแต่คนแรกจนถึงตนเอง แล้วอาจารย์ก็เล่าให้ฟังโดยอีกครั้ง โดยใช้วิธีถามนักศึกษาว่าเรื่องราวเป็นมาเป็นแบบไหน รูปภาพของเพื่อนคนไหนสะดุดตา เป็นเอกลักษณ์ ตัวละครตัวไหนเพื่อนจำได้ง่าย เพื่อเป็นการกระตุ้นความรู้ของเราจากที่เพื่อนได้ออกไปเล่านิทานหน้าชั้นเรียน




รูปภาพที่ดิฉันวาด



เรื่องเรียนในวีนนี้

การประเมินภาษาเด็ก

     1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายใช้การสังเกตุและจดบันทึกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เช่น
             - การสนทนา การสังเกตุ หรือการจดบันทึก
             - การเขียน คือ การดูที่ลายเส้นที่เด็กเขียน
             - วาดภาพของเด็ก คือ ดูรายละเอียดของภาพว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด

ตัวอย่าง

      2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
             - บันทึกในสิ่งที่เด็กทำ แต่ในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ครูควรส่งเสริมเด็ก
             - ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น

ตัวอย่าง

      3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
             - การที่จะดูว่าเด็กมีทักษะด้านการพูดดีไหม จะต้องดูหลายๆอย่าง ไม่ใช่ดูแค่เพียงใดอย่างเดียว

ตัวอย่าง



      4. ให้เด็กได้มีโอกาสประเมินตนเอง
             - เวลาให้เด็กทำผลงาน ควรจะติดผลงานเด็กไว้ภายในบริเวณในห้อง เพื่อที่จะให้เด็กได้ดูพัฒนาการของตนเอง

ตัวอย่าง

      5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
             - ครูที่ดีต้องใส่ใจในรายละเอียดของผลงานเด็กระหว่างที่เด็กทำ และต้องใส่ใจในกระบวนการคิดของเด็กด้วย

ตัวอย่าง

ภาพที่ 1 รูปภาพที่เด็กคนนึงวาดไว้ ซึ่งเป็นรูปไอศกรีมที่ละลายแล้ว
เกิดจากจินตนาการของเด็ก



       6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
              - ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน   

ตัวอย่าง


    

กิจกรรมฝึกทักษะ

              อาจารย์มีเกมส์ต่อจุดให้เล่น ซึ่งเป็นเกมส์ที่ฝึกทักษะในด้านการคิด คือ มีจุดอยู่ 9 จุด ให้ลากเส้นเป็นเส้นตรง 4 เส้น โดยห้ามให้เส้นขาดออกจากกัน เช่น


ภาพที่ 2 ให้ลากเส้นเป็นเส้นตรง 4 เส้น โดยห้ามให้เส้นขาดออกจากกัน




ภาพที่ 3 เมื่อลากเส้นตรง 4 เส้นจะได้ดังภาพนี้ !!
"เพราะอาจารย์บอกว่าการจะเป็นครูปฐมวัยที่ดีควรที่จะรู้จักคิดนอกกรอบ"



กิจกรรมส่งเสริมลักษณะทางภาษา
  1. การเขียนตามคำบอกของเด็ก
  2. ช่วยเด็กเขียนบันทึก
  3. อ่านหนังสือนิทานร่วมกัน
  4. เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าวเตือนความจำ
  5. อ่านคำคล้องจ้อง
  6. ร้องเพลง
  7. เล่าสู่กันฟัง
  8. เขียนส่งสารถึงกัน



กิจกรรมหลังเรียน
         
         เป็นกิจกรรมวาดไปเล่าไปซึ่งเรื่องแรก คือ เรื่องสุนัขจิ้งจอก



ครั้งแรกอาจารย์จะให้นั่งฟังเฉยๆ แล้วก็ถามว่าเกี่ยวกับอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร 




ครั้งที่สองก็เล่าเรื่องไปพร้อมๆกับอาจารย์



เรื่อง เต่าทอง



ครั้งแรกอาจารย์ก็จะเล่าไปวาดไป



ครั้งสองก็จะให้นักศึกษาช่วยกันเล่าเรื่องเต่าทอง


**ซึ่งเทคนิคในการเล่านิทานแบบเล่าไปเล่าไปช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ความสนุนสนานและความเพลิดเพลินในขณะที่ครูผู้สอนกำลังเล่านิทาน สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัย


การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. สามารถนำเทคนิค การเล่าไปวาดไป นำไปต่อยอดในการฝึกสอน
  2. สามารถนำการประเมินภาษาของเด็กไปใช้ในอนาคต เพื่อที่จะได้คิด วิเคาระห์ ไตรตรองให้ดีว่าผลงานของเด็กทุกชิ้นที่เด็กทำนั้นมีความตั้งใจ ไม่ใช่เด็กคนนึงวาดรูปสวยให้คะแนน เด็กที่วาดรูปไม่สวยแต่ให้คะแนนเยอะก็ไม่สมควร ครูควรไปคอยดูขณะที่เด็กนั้นได้ทำกิจกรรม
  3. การเล่าไปวาดไป ควรเตีรยมการเล่านิทานมาล่วงหน้าก่อน เพราะอาจจะทำให้เนื้อเรื่องนิทานขาดช่วงได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น