เข้าเรียนครั้งที่ 7
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น โดยให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เราอยากจะวาด ดิฉันได้วาดรูปตัวเองเป็นนักร้องอยู่บนเวทีงานเทศการดนตรี Big Mountain Music Festival 3 ( มัน ใหญ่ มาก 3 ) โดยอาจารย์ให้นักศึกษามาเล่าเรื่องจากรูปภาพที่ตนเองวาดมาเล่าต่อกันไปจนถึงคนสุดท้ายต้องเป็นคนจบเรื่องให้ได้ตั้งแต่คนแรกจนถึงตนเอง แล้วอาจารย์ก็เล่าให้ฟังโดยอีกครั้ง โดยใช้วิธีถามนักศึกษาว่าเรื่องราวเป็นมาเป็นแบบไหน รูปภาพของเพื่อนคนไหนสะดุดตา เป็นเอกลักษณ์ ตัวละครตัวไหนเพื่อนจำได้ง่าย เพื่อเป็นการกระตุ้นความรู้ของเราจากที่เพื่อนได้ออกไปเล่านิทานหน้าชั้นเรียน
รูปภาพที่ดิฉันวาด
เรื่องเรียนในวีนนี้
การประเมินภาษาเด็ก
1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายใช้การสังเกตุและจดบันทึกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เช่น
- การสนทนา การสังเกตุ หรือการจดบันทึก
- การเขียน คือ การดูที่ลายเส้นที่เด็กเขียน
- วาดภาพของเด็ก คือ ดูรายละเอียดของภาพว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่าง
2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
- บันทึกในสิ่งที่เด็กทำ แต่ในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ครูควรส่งเสริมเด็ก
- ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
ตัวอย่าง
3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
- การที่จะดูว่าเด็กมีทักษะด้านการพูดดีไหม จะต้องดูหลายๆอย่าง ไม่ใช่ดูแค่เพียงใดอย่างเดียว
ตัวอย่าง
4. ให้เด็กได้มีโอกาสประเมินตนเอง
- เวลาให้เด็กทำผลงาน ควรจะติดผลงานเด็กไว้ภายในบริเวณในห้อง เพื่อที่จะให้เด็กได้ดูพัฒนาการของตนเอง
ตัวอย่าง
5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
- ครูที่ดีต้องใส่ใจในรายละเอียดของผลงานเด็กระหว่างที่เด็กทำ และต้องใส่ใจในกระบวนการคิดของเด็กด้วย
ตัวอย่าง
ภาพที่ 1 รูปภาพที่เด็กคนนึงวาดไว้ ซึ่งเป็นรูปไอศกรีมที่ละลายแล้ว
เกิดจากจินตนาการของเด็ก
6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
- ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
ตัวอย่าง
กิจกรรมฝึกทักษะ
อาจารย์มีเกมส์ต่อจุดให้เล่น ซึ่งเป็นเกมส์ที่ฝึกทักษะในด้านการคิด คือ มีจุดอยู่ 9 จุด ให้ลากเส้นเป็นเส้นตรง 4 เส้น โดยห้ามให้เส้นขาดออกจากกัน เช่น
ภาพที่ 2 ให้ลากเส้นเป็นเส้นตรง 4 เส้น โดยห้ามให้เส้นขาดออกจากกัน
ภาพที่ 3 เมื่อลากเส้นตรง 4 เส้นจะได้ดังภาพนี้ !!
"เพราะอาจารย์บอกว่าการจะเป็นครูปฐมวัยที่ดีควรที่จะรู้จักคิดนอกกรอบ"
กิจกรรมส่งเสริมลักษณะทางภาษา
- การเขียนตามคำบอกของเด็ก
- ช่วยเด็กเขียนบันทึก
- อ่านหนังสือนิทานร่วมกัน
- เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าวเตือนความจำ
- อ่านคำคล้องจ้อง
- ร้องเพลง
- เล่าสู่กันฟัง
- เขียนส่งสารถึงกัน
กิจกรรมหลังเรียน
เป็นกิจกรรมวาดไปเล่าไปซึ่งเรื่องแรก คือ เรื่องสุนัขจิ้งจอก
ครั้งแรกอาจารย์จะให้นั่งฟังเฉยๆ แล้วก็ถามว่าเกี่ยวกับอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ครั้งที่สองก็เล่าเรื่องไปพร้อมๆกับอาจารย์
เรื่อง เต่าทอง
ครั้งแรกอาจารย์ก็จะเล่าไปวาดไป
ครั้งสองก็จะให้นักศึกษาช่วยกันเล่าเรื่องเต่าทอง
**ซึ่งเทคนิคในการเล่านิทานแบบเล่าไปเล่าไปช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ความสนุนสนานและความเพลิดเพลินในขณะที่ครูผู้สอนกำลังเล่านิทาน สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัย
การนำเอาความรู้ไปใช้
- สามารถนำเทคนิค การเล่าไปวาดไป นำไปต่อยอดในการฝึกสอน
- สามารถนำการประเมินภาษาของเด็กไปใช้ในอนาคต เพื่อที่จะได้คิด วิเคาระห์ ไตรตรองให้ดีว่าผลงานของเด็กทุกชิ้นที่เด็กทำนั้นมีความตั้งใจ ไม่ใช่เด็กคนนึงวาดรูปสวยให้คะแนน เด็กที่วาดรูปไม่สวยแต่ให้คะแนนเยอะก็ไม่สมควร ครูควรไปคอยดูขณะที่เด็กนั้นได้ทำกิจกรรม
- การเล่าไปวาดไป ควรเตีรยมการเล่านิทานมาล่วงหน้าก่อน เพราะอาจจะทำให้เนื้อเรื่องนิทานขาดช่วงได้